รายการมหัศจรรย์ธรรมชาติ
ตามรอยเสด็จพระราชดำเนิน
เกาะแสมสาร

 

 

 

 


 

 
       
     
       
   


 

,ฝากข่าวแจ้งเตือนมาจากเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ สำหรับนักท่องทะเลว่า
ช่วงฝนนี้มีแมงกระพรุนจำนวนมากผิดปกติ ขี้นมาลอยเล่น บริเวณสะพาน
ท่าเทียบเรือเขาหมาจอ แม้จะเป็นประเภทที่พิษไม่รุนแรงมาก ก็สมควร
ต้องเรียนรู้และระมัดเพื่อความปลอดภัย
:  น่ารู้เกี่ยวกับแมงกะพรุน

.......................................................................   

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
ตั้งอยู่บนเขาหมาจอ
 ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ
ทางทะเล ที่เปิดให้เยาวชนและประชนทั่วไปเข้าชม  จัดเก็บค่าชมดังนี้


ผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท เด็กนักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ
20 บาท กรณีทำหนังสือแจ้งมาเป็นหมู่คณะ (จำนวน20 คนขึ้นไป) จะเสีย
ค่าบำรุงผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท ยกเว้นค่าเยี่ยมชมสำหรับ ทหารเรือ
ในเครื่องแบบ นักบวช เด็กเล็กความสูงไม่เกิน 110 ซม

 
       
       
   
 


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ "ทรัพยากรไทย :
ประโยชน์แท้แก่มหาชน" และทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (Thai Island and Sea Natural History Museum) บริเวณที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัด ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550  
:
ประมวลภาพ    ผู้ร่วมสนับสนุนฯ

 
    ................................................................................................................  
 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทอดพระเนตรนิทรรศการ หน่วยงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ.-ทร.
ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการและทรรศการ "ทรัพยากรไทย : ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี

ประมวลภาพ
 
    ...............................................................................................................  
 

ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2553 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย จัดกิจกรรมค่ายสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำหรับคณะอาจารย์และนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 

ประมวลภาพ
 
    ..............................................................................................................  
 

ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2553 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย จัดกิจกรรมค่ายสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำหรับคณะอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประมวลภาพ

 
    .............................................................................................................  
 
เมื่อวันที่
10 มิถุนายน 2553  คณะเจ้าหน้าที่จาก Mead and Johnson Nutrition Thailand จำนวน 30 คน นำโดย คุณมานิต ศรีปราบ ผู้จัดการอาวุโส  ได้ทำพิธีมอบเงินสนับสนุนการสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน และร่วมกิจกรรมปลูกพรรณไม้ป่าชายเลนจำนวน 300 ต้น บริเวณพื้นที่ศึกษาธรรมชาติวิทยาป่าชายเลน อพ.สธ. – ทร.

ประมวลภาพ
 
    .............................................................................................................  
 

เมื่อวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับสมาชิกชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. โรงเรียนสิงห์สมุทร และโรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีนางศศิวิมล อยู่คงแก้ว ประธานชมรมฯ กล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่

ประมวลภาพ

 
    ..............................................................................................................  
 
เมื่อวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2553 พิพิธภัณฑ์ได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ "กระบวนการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา" แก่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์  โดยมี ผศ.วิโรจน์ ดาวฤกษ์ จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้นำไปสู่ผู้เยี่ยมชมต่อไป :ประมวลภาพ
 
    ...............................................................................................................  
 
วันที่ 5-6 พฤษภาคม 2553  พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยได้จัดกิจกรรมค่ายสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำหรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้มาเยี่ยมชม และบันทึกความรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ และเดินทางไปเกาะแสมสาร เพื่อเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ ในเรื่องพืชพรรณไม้ ระบบนิเวศแนวปะการัง และความหลากหลายของหินชนิดต่างๆ อีกด้วย : ประมวลภาพ
 
       
 
 
   
 
     
   
 
     
   
     
 
     
       
 


 

 

คณะสำรวจในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริฯ ประกอบไปด้วยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์
สาขาต่างๆ ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกันในฐานะ "คณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ." และยังมี "คณะวิทยปฏิบัติการ" ซึ่งเป็นคณะทหารจากกองทัพเรือ

จุดหมายของการสำรวจและวิจัย อยู่ที่การอนุรักษ์และพัฒนาฐานคุณธรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้แจ้งในธรรมชาติแห่งชีวิต" ความเกี่ยวพันและเกื้อกูลกัน อันจะนำไปสู่ความรัก ความเมตตา ความรักความเข้าใจในชีวิต เบื้องหลังความสำเร็จของการสำรวจหรือการทำงานวิจัยแต่ละชิ้นเป็นมาอย่างไร ? และกว่าจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติวิทยาในแต่ละสาขา นักวิจัยแต่ละท่านมีแรงบันดาลใจอะไร ? ในการค้นหาความจริงความแห่งธรรมชาติ  
เชิญค้นหา และติดตาม

       
   
     
       
 

 

ทำไมเม่นทะเลตัวนี้.. ต้องแต่งตัว?

ขึ้นชื่อว่าเป็นเม่น จะอยู่บกหรือทะเล เราก็มักวาดภาพสัตว์ที่มีหนามตามตัวแหลมคม มีเม่นทะเลชนิดหนึ่งที่รูปร่างแตกต่างออกไป แทนที่จะมีหนามแหลม กลับมีรูปร่างกลมๆ คล้ายดอกไม้ และพฤติกรรมที่ชอบนำกรวด หิน เปลือกหอย มาปกปิดติดอยู่ตามลำตัว จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า เม่นทะเลแต่งตัว (Toxopneustes pileolus) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลย่อมเกิดแต่เหตุ การที่เม่นทำเช่นนั้น ย่อมมีเหตุผลแน่นอน.. 

 
อ่านต่อ รวมเกร็ดความรู้

       
   
     
       
 




 
 

ก่อนอื่นขอเฉลยคำตอบ Q13 ก่อนค่ะ ไปตามลิงค์นี้เลยนะคะ ใครตอบถูกรอรับรางวัลได้เลยค่ะ เฉลยคำตอบ รวม Quiz
 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ นอกเหนือจากปลาวาฬ ปลาโลมาแล้ว ังมีอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบ้านเราตอนนี้หาดูได้ยากมาก คำถามง่ายๆ สำหรับครั้งนี้ ให้ตอบว่าสัตว์ที่เห็นนี้คืออะไร? ขอทั้งชื่อไทยและอังกฤษนะคะ ดูจากภาพก็คงเดาไม่ยาก และขอเพิ่มเติมด้วยว่าสัตว์ชนิดนี้กินพืชชนิดใด เป็นอาหาร?

ส่งคำตอบพร้อมที่อยู่ทางอีเมล :
 info@tis-museum.org
หรือส่ง เป็นไปรษณียบัตรมาที่...
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
สวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10303 โดยจ่าหน้าว่า "มุมพิพิธภัณฑ์ฯ" วงเล็บ Q14 รางวัลรอน้องๆ อยู่ค่ะ 

       
   
   

 

       
   

เชิญชวนให้สมาชิกชมรมฯ ชาวพิธภัณฑฯ และชาวค่าย หรือทุกท่านที่สนใจ มาขียนเล่าในสิ่งที่คิดว่าอยากเล่าอยากถ่ายทอด จะเป็นเรื่องราวอะไรก็ได้ ในแง่มุมต่างๆ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กันอีกทางหนึ่งด้วย

ในแต่ละเรื่องที่นำมาลง จะมีของที่ระลึกมอบให้ และเก็บเรื่องบันทึกเป็นปูมประวัติด้วยค่ะ ..ส่งเรื่องผ่านมาที่พี่แอ๊นท์ หรือโดยตรงทาง
E-mail :
info@tis-museum.org

หลังจากประเดิมเรื่องเล่าเรื่องแรก : อพยพภัยสึนามิที่สิมิลัน โดย ทับละมุ ไปแล้ว ระหว่างรอเรื่องจากสมาชิก ทีมงานขอนำเรื่องบันทึกเล่าเรื่องที่น่าสนใจของ อาจารย์ ดร.ฉันทนา สุวรรณธาดา ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ที่ไปร่วมสำรวจทรัพยากรเกือบทุกครั้ง เรื่องเล่านี้มีชื่อว่า : บันทึกเอื้องดินดอย อาจารย์ท่านเขียนเล่าได้สนุกน่าสนใจมากค่ะ ติดตามอ่านกันนะคะ

     

รวมเรื่องเล่า

       
   
     
     
  จำนวนผู้เยี่ยมชม
 
         
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.